การกัดกร่อน

Dr. Sutha Sutthiruangwong

Corrosion Researcher & Consultant

เกี่ยวกับ

เว็บนี้ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการกัดกร่อนหรือสนิมตามที่รู้จักกันโดยทั่วไป หากแต่การกัดกร่อนนั้นมีหลากหลายรูปแบบมากกว่าสนิมแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังเป็นที่เผยแพร่องค์ความรู้ขั้นสูงจากการทำวิจัยด้านการกัดกร่อน

เป็นอาจารย์สอนวิชาการกัดกร่อน (Corrosion) จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านการกัดกร่อนจากประเทศออสเตรีย (Austria) ทำงานวิจัยและเป็นที่ปรึกษาเพื่อการแก้ปัญหาการกัดกร่อนให้กับภาคอุตสาหกรรม เช่น Western Digital, PANDORA, SCG Chemicals, Chevron, ฯลฯ มากว่า 25 ปี

ยินดีให้คำปรึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาการกัดกร่อน

ข้อมูลส่วนบุคคล

  • ชื่อ : ผศ.ดร.สุธา สุทธิเรืองวงศ์
  • Asst. Prof. Dr. Sutha Sutthiruangwong
  • อีเมล์ : sutha.su@kmitl.ac.th
  • ที่ทำงาน : หลักสูตรเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) กรุงเทพฯ

ความเชี่ยวชาญ

การกัดกร่อน

อธิบายปรากฏการณ์และกลไกการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นโดยอาศัยทฤษฎีทางเคมีไฟฟ้า เคมี โลหะวิทยา และวัสดุศาสตร์


การป้องกันการกัดกร่อน

ประยุกต์ใช้วิธีการที่เหมาะสมในการป้องกันหรือยับยั้งการกัดกร่อนหลังจากเข้าใจปรากฏการณ์และกลไกการกัดกร่อน ด้วยพื้นฐานความรู้ทางอุณหพลศาสตร์และจลนศาสตร์


การบริหารโครงการ

บริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ด้วยการริเริ่ม ปรับปรุง พัฒนา โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ให้ได้ดุลยภาพกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงหลักจิตวิทยาโดยเฉพาะหลักความต้องการ 5 ขั้นของมาสโลว์


ประวัติ

ประสบการณ์ทำงาน

2554 - ปัจจุบัน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (Assistant Professor) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


2563 - 2565

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย (Vice President for Research) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


2561 - 2563

รองผู้อำนวยการ (Deputy Director) สำนักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


2560 - 2561

หัวหน้าภาควิชาเคมี (Head of the Department) คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


2553 - 2555

ผู้จัดการหน่วยวิจัยเฉพาะทางด้านการกัดกร่อน (Manager of Research Unit) วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการข้อมูล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


2551 - 2552

ผู้ช่วยคณบดี (Assistant Dean) คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


2543 - 2554

อาจารย์ (Lecturer) สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


2542

อาจารย์ (Lecturer) ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


2540

ฝึกงานทางวิศวกรรม (Engineering Trainee) โรงไฟฟ้าบางปะกง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

การศึกษา

2566

ประกาศนียบัตร หลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ที่ ก.ศป. รับรอง), โรงเรียนกฎหมายและการเมือง, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


2547

ปริญญาเอก Dr.mont. (Korrosion), Montanuniversität Leoben, Austria (ทุนการศึกษาจากรัฐบาลออสเตรีย)


2542

ปริญญาโท M.S. (Petrochemical Technology), The Petroleum and Petrochemical College, Chulalongkorn University, Thailand (ทุนการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)


2540

ปริญญาตรี B.Eng., cum laude, (Chemical Engineering), Faculty of Engineering, Burapha University, Thailand

รางวัล

2557

ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


2546

ได้รับรางวัลด้านการกัดกร่อน รางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานทางวิชาการด้วยโปสเตอร์ การประชุมทางวิชาการภาคพื้นยุโรปเรื่องการกัดกร่อน (EUROCORR) ณ กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี

การกัดกร่อนของโลหะ

จากนิยามตามมาตรฐาน ISO 8044:2020 (เดิม DIN 50900) การกัดกร่อน หมายความว่า อันตรกิริยาทางเคมีฟิสิกส์ระหว่างวัสดุโลหะกับสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมบัติของโลหะ โดยอาจนำไปสู่การลดทอนความสามารถอย่างมีนัยสำคัญต่อการทำหน้าที่ของโลหะ สิ่งแวดล้อม หรือระบบทางเทคนิคซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนประกอบ ทั้งนี้ บ่อยครั้งที่อันตรกิริยาดังกล่าวจะเป็นปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า นอกจากนี้ ตามรายงานในปี 2559 ของ NACE International (แสดงข้อมูลในปี 2556) ซึ่งเป็นรายงานเกี่ยวกับความสูญเสียเนื่องจากการกัดกร่อนของสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศทั่วโลก พบว่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจมีมูลค่าราว 2.5 ล้านล้านดอลลาห์สหรัฐ/ปี หรือประมาณ 3.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของทั้งโลก ลำพังในประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวพบว่าการกัดกร่อนสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดเป็นเงินราว 451,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/ปี เทียบได้เท่ากับ 2.7% ของ GDP ของสหรัฐอเมริกา หรือถ้าเทียบเป็นเงินไทยที่อัตราแลกเปลี่ยนในปี 2556 ประมาณ 30 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ จะอยู่ที่ประมาณ 13.5 ล้านล้านบาท/ปี (จากตัวเลขที่เคยมีการรายงานเมื่อปี 2542 - 2544 ที่ 276,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/ปี หรือ 3.1% ของ GDP)

หากภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ให้ความสำคัญกับการกัดกร่อนจนสามารถลดความสูญเสียเนื่องจากการกัดกร่อนนี้ได้ จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงอย่างชัดเจน ความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาครวมไปถึงระดับโลกจะสูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ ดังที่ได้มีการสรุปในรายงานตอนท้ายว่า หากแค่เพียงได้ใช้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมการกัดกร่อนที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ก็จะสามารถลดความสูญเสียลงได้ 15 - 35% ซึ่งนับเป็นเงินจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว

การกัดกร่อนสามารถจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ได้หลายลักษณะโดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ กัน เช่น จำแนกตามกลไก ตามลักษณะทางกายภาพ หรือตามตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการกัดกร่อน หากจะแบ่งการกัดกร่อนออกเป็นกลุ่ม ในภาพกว้างสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มคือ การกัดกร่อนแบบสม่ำเสมอ (Uniform corrosion) และการกัดกร่อนในบริเวณจำเพาะ (Localized corrosion) ซึ่งในกลุ่มหลังนี้มีสมาชิกหลากหลายรูปแบบ โดยการกัดกร่อนจะเกิดขึ้นเฉพาะในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ไม่เกิดขึ้นทั่วทั้งผิวหน้าของโลหะ ในบางกรณีอาจจะไม่สามารถสังเกตเห็นการกัดกร่อนในกลุ่มนี้ได้ด้วยตาเปล่า

นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกประเภทของการกัดกร่อนตามสภาพการใช้งานของโลหะได้อีกด้วย อาทิ การกัดกร่อนในบรรยากาศ (Atmospheric corrosion) การกัดกร่อนของเครื่องประดับ (Corrosion of jewelry) การกัดกร่อนของวัสดุทางการแพทย์ที่ใช้ฝังในร่างกาย (Corrosion of implant materials) การกัดกร่อนในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี (Corrosion in petroleum and petrochemical industry) การกัดกร่อนของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Corrosion of hard disk drive) การกัดกร่อนโดยจุลินทรีย์ (Microbial corrosion)


การกัดกร่อนแบบสม่ำเสมอ (Uniform corrosion)

เกิดขึ้นทั่วทั้งผิวหน้าของโลหะที่สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมแบบสม่ำเสมอ สามารถประยุกต์ใช้กฎของฟาราเดย์ในการคำนวณหาอัตราการกัดกร่อนในมิติต่าง ๆ ได้ เช่น มวลต่อพื้นที่ต่อเวลา ความลึกของการกัดกร่อนต่อเวลา ในทางปฏิบัติ หากโลหะมีอัตราการกัดกร่อนแบบสม่ำเสมอ < 0.1 mm/y จะจัดว่ามีความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อน แต่หากอัตราการกัดกร่อนแบบสม่ำเสมอมีค่า > 1.0 mm/y จะถือว่าโลหะนั้นไม่มีความต้านทานการกัดกร่อน ส่วนถ้าอัตราการกัดกร่อนมีค่าอยู่ระหว่างสองค่าที่กล่าวนี้ การใช้งานโลหะจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขบังคับบางอย่าง

การกัดกร่อนแบบกัลวานิก (Galvanic corrosion)

การกัดกร่อนแบบนี้เกิดจากการสัมผัสหรือเชื่อมต่อกันทางไฟฟ้าของโลหะตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปที่มีศักย์ไฟฟ้ารีดักชันต่างกันและอยู่ในสารละลายที่นำไฟฟ้าได้ โลหะที่มีค่าศักย์ไฟฟ้ารีดักชันต่ำกว่ามีแนวโน้มที่จะสูญเสียอิเล็กตรอนได้ง่ายกว่า และเกิดการกัดกร่อนกับโลหะนั้นอย่างรุนแรงที่บริเวณรอยต่อของการสัมผัส นอกจากนี้ในบางกรณี แม้ว่าจะมีโลหะเพียงชนิดเดียวแต่ถ้าปลายทั้งสองด้านของโลหะนั้นอยู่ในสภาวะที่มีความสามารถในการออกซิไดซ์ต่างกัน ก็สามารถเอื้อให้เกิดการกัดกร่อนแบบกัลวานิกได้

การสูญเสียส่วนเจือ (Dealloying)

ตัวอย่างที่คลาสสิกที่สุดของการกัดกร่อนแบบนี้คือการสูญเสียสังกะสีของทองเหลือง ซึ่งนอกจากจะทำให้ทองเหลืองมีสีแดงเข้มมากขึ้นตามสัดส่วนเชิงมวลของทองแดงที่เพิ่มขึ้นแล้ว ทองเหลืองยังจะสูญเสียความแข็งแรงด้วย เนื่องจากโครงสร้างโดยรวมมีความพรุนมากขึ้น

การกัดกร่อนแบบหลุม (Pitting corrosion)

การกัดกร่อนแบบนี้มักจะเกิดกับโลหะที่มีความสามารถในการสร้างชั้นป้องกันได้ (Passivation) หลุมที่เกิดขึ้นมีได้หลายลักษณะ เช่น หลุมทรงปากกว้าง หลุมทรงปากแคบแต่ด้านในกลวง หลุมทรงปากแคบและลึก ในเหล็กกล้าไร้สนิมจะมีการประมาณค่าความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อนแบบหลุม (PREN, pitting resistance equivalent number) เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้โลหะประเภทนี้ได้ด้วย

การกัดกร่อนบริเวณซอก (Crevice corrosion)

เกิดขึ้นในบริเวณที่การถ่ายเทของเหลวทำได้ไม่ดีนัก ด้านในและด้านนอกของซอกจะส่งผลให้การแพร่ของสารเคมีบางชนิด เช่น ออกซิเจน ทำได้ยาก ซึ่งจะทำให้ด้านในและด้านนอกมีความสามารถในการออกซิไดซ์ที่ต่างกัน และนำไปสู่การกัดกร่อนเฉพาะบริเวณด้านในซอก นอกจากนี้ค่า pH ด้านในซอกอาจจะลดลงได้ถึง 1 หรือ 0 ในขณะที่ค่า pH ด้านนอกคงที่ที่ 7

การกัดกร่อนบริเวณขอบเกรน (Intergranular corrosion)

เมื่อคาร์บอนที่เจืออยู่ในเหล็กกล้าไร้สนิมสามารถแพร่เข้าจับกับโครเมียม เกิดเป็นสารประกอบ เช่น Cr23C6 และตกตะกอนอยู่ที่ขอบเกรน บริเวณที่อยู่ถัดไปจากขอบเกรนจะมีปริมาณโครเมียมลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ความต้านทานการกัดกร่อนลดลงไปด้วย และเมื่อเหล็กกล้าไร้สนิมสัมผัสกับสารกัดกร่อน บริเวณข้างขอบเกรนจึงถูกกัดกร่อนเป็นอันดับแรกอย่างจำเพาะเจาะจง

การแตกร้าวจากการกัดกร่อนและความเค้น (Stress corrosion cracking)

การกัดกร่อนแบบนี้ต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 ส่วนที่พอดีกัน คือ ความเค้น โลหะที่อ่อนไหว และสิ่งแวดล้อมที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ถ้าองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งขาดหายไปหรือมีขนาดไม่เพียงพอ จะไม่เกิดการกัดกร่อนแบบนี้

การแตกร้าวจากการกัดกร่อนร่วมกับการล้า (Corrosion fatigue cracking)

โลหะที่ได้รับแรงกระทำแบบวนรอบสามารถใช้งานได้เป็นระยะเวลานานในสภาพแวดล้อมที่เฉื่อย แต่เมื่อนำโลหะดังกล่าวมารับแรงกระทำแบบวนรอบเช่นเดิม โดยให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีฤทธิ์กัดกร่อน อายุการใช้งานของโลหะดังกล่าวจะสั้นลงอย่างเห็นได้ชัด

ความเสียหายจากไฮโดรเจน (Hydrogen damage)

การกัดกร่อนแบบนี้เกิดจากอะตอมไฮโดรเจนที่แพร่เข้าไปในเนื้อโลหะซึ่งจะลดความเหนียวและความแข็งแรงของโลหะลง นอกจากนี้เมื่อมีการรวมตัวกันของอะตอมไฮโดรเจนด้วยพันธะโควาเลนต์ภายในเนื้อโลหะที่อยู่ลึกลงไป จะเกิดก๊าซไฮโดรเจนที่มีแรงดันสูงมาก ซึ่งสามารถสร้างรอยแตกหรือรอยระเบิดออกจากด้านในได้ในที่สุด

ในด้านความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินรวมถึงสิ่งแวดล้อม มีรายงานเกี่ยวกับภัยพิบัติที่มีความเกี่ยวข้องกับการกัดกร่อนอยู่หลายเหตุการณ์ เช่น

เกิดการชนจากการตกรางของรถไฟความเร็วสูง เมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2563 ในสก็อตแลนด์ มีผู้เสียชีวิต 3 คน จากการตรวจสอบหลังเกิดเหตุ มีรายงานกล่าวถึงข้อกังวลต่อการกัดกร่อนที่พบบริเวณโครงสร้างของตู้โดยสารที่เกิดความเสียหาย

ระบบท่อส่งน้ำมันใต้ดินทางตอนเหนือของประเทศจีนเกิดการระเบิดเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2556 ซึ่งเป็นผลมาจากการกัดกร่อนของท่อส่งน้ำมันที่อยู่ใต้ดิน ทำให้น้ำมันรั่วไหลลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อมีประกายไฟจากการขุดเจาะในบริเวณดังกล่าวจึงเกิดการระเบิดขึ้น มีผู้เสียชีวิต 62 คน

สะพาน Silver bridge ที่ใช้ข้ามแม่น้ำโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ถล่มลงมาเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2510 ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ทำให้รถ 31 คันที่อยู่บนสะพานตกลงไปในแม่น้ำ มีผู้เสียชีวิต 46 คน มีรายงานว่าสาเหตุเกิดจากความเค้นตกค้างและการแตกร้าวจากการกัดกร่อนและความเค้น (Stress corrosion cracking)

เหตุการณ์ที่ Bhopal ประเทศอินเดีย ในช่วงกลางดึกของคืนวันที่ 2 ธ.ค. 2527 ได้มีน้ำจำนวนมากเข้าไปผสมกับ Methyl isocyanate ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ควบคุมไม่ได้ ด้วยการคายความร้อนจากปฏิกิริยา รวมทั้งตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กที่เกิดขึ้นมาจากการกัดกร่อนบริเวณผนังของถังเหล็กกล้าไร้สนิมนี้เอง อุณหภูมิและความดันจึงเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากจนวาล์วนิรภัยได้เปิดออก ส่งผลให้ก๊าซที่เป็นพิษหลายชนิดถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ ลอยตามลมไปยังชุมชนที่มีผู้อยู่อาศัยจำนวนมาก เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตทันทีกว่า 2,259 คน

เครื่องบินของสายการบิน Aloha ขณะบินอยู่ที่ระดับความสูง 24,000 ฟุต ในรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2531 ผนังของเครื่องบินครึ่งบนในส่วนที่เป็นหลังคาของตัวเครื่องแตกและหลุดออกเป็นทางยาวประมาณ 5.6 เมตร ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน จากการหลุดออกไปจากตัวเครื่อง รายงานกล่าวว่าเกิดการล้าจากการกัดกร่อนบริเวณซอก (Crevice corrosion) เพราะเครื่องบินบินขึ้น-ลงบริเวณชายฝั่งซึ่งเป็นสภาวะที่มีเกลือและความชื้นมาเป็นระยะเวลานาน

ด้วยสภาพอากาศที่ไม่ดี เรือเดินสมุทร Erika ซึ่งบรรทุกน้ำมันเตา 31,000 ตัน อับปางและจมลงสู่ก้นมหาสมุทร 70 กิโลเมตรนอกชายฝั่งประเทศฝรั่งเศสในวันที่ 12 ธ.ค. 2542 ทำให้มีน้ำมันเตารั่วไหลออกมาจำนวนมาก รายงานกล่าวว่าเหตุการณ์นี้เป็นผลโดยตรงจากการกัดกร่อนของเรือ ซึ่งสัมพันธ์กับการขาดการบำรุงรักษา

เกิดการระเบิดของถังเก็บสารเคมีความดันสูง ขนาด 50 ฟุต ในรัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2552 เศษชิ้นส่วนของเหล็กกล้าจากการระเบิดปลิวไปไกลกว่า 650 ฟุต สร้างความเสียหายกับปั๊มน้ำมันที่อยู่ใกล้เคียง และทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน มีรายงานว่า Sodium hydroxide ที่อยู่ภายในถังทำให้เกิดการแตกร้าวจากการกัดกร่อนและความเค้น (Stress corrosion cracking)

งานวิจัยและที่ปรึกษาโครงการ

ห้องปฏิบัติการวิจัยการกัดกร่อน
ห้องปฏิบัติการวิจัยการกัดกร่อน

24 สิงหาคม 2553

ด้วยการสนับสนุนจาก บ. เวสเทิร์น ดิจิตอล จำกัด (Western Digital)

การกัดกร่อนแบบหลุม
การกัดกร่อนแบบหลุม

ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกวาด (SEM) แสดงการกัดกร่อนแบบหลุมของเหล็กกล้าไร้สนิมชนิด 304

การกัดกร่อนบริเวณขอบเกรน
การกัดกร่อนบริเวณขอบเกรน

เห็นได้ชัดเจนหลังจากดัดงอชิ้นงาน

การกัดกร่อนแบบกัลวานิก
การกัดกร่อนแบบกัลวานิก

ของท่อเหล็กที่ต่อกับข้อต่อทองเหลืองและทองแดง

การกัดกร่อนของเหล็กกล้าไร้สนิมชนิดซุปเปอร์ออสเตไนต์
การกัดกร่อนของเหล็กกล้าไร้สนิมชนิดซุปเปอร์ออสเตไนต์

ปกติโลหะชนิดนี้จะทนต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่าเหล็กกล้าไร้สนิมชนิดอื่น (แบบสม่ำเสมอ แบบหลุม และแบบบริเวณซอก)

การกัดกร่อนแบบหลุม
การกัดกร่อนแบบหลุม

ของวัสดุโลหะทางการแพทย์ที่ใช้ฝังในร่างกายเพื่อการรักษา

การกัดกร่อนของกระป๋องบรรจุอาหาร
การกัดกร่อนของกระป๋องบรรจุอาหาร

บริเวณตะเข็บฝาและตะเข็บข้าง

การสูญเสียโคบอลต์ของซีเมนเตททังสเตนคาร์ไบด์
การกัดกร่อนของซีเมนเตททังสเตนคาร์ไบด์

ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกวาด (SEM) แสดงการสูญเสียโคบอลต์ของซีเมนเตททังสเตนคาร์ไบด์เนื่องจากการกัดกร่อน

การกัดกร่อนของซีเมนเตททังสเตนคาร์ไบด์
การกัดกร่อนของซีเมนเตททังสเตนคาร์ไบด์

ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (TEM) ของซีเมนเตททังสเตนคาร์ไบด์หลังจากการกัดกร่อน

การแตกร้าวจากการกัดกร่อนและความเค้น
การแตกร้าวจากการกัดกร่อนและความเค้น

ของเหล็กสมอยึดผนังอุโมงค์

ห้องปฏิบัติการวิจัยการกัดกร่อน
ห้องปฏิบัติการวิจัยการกัดกร่อน

24 สิงหาคม 2553

ด้วยการสนับสนุนจาก บ. เวสเทิร์น ดิจิตอล จำกัด (Western Digital)

ห้องปฏิบัติการวิจัยการกัดกร่อน
ห้องปฏิบัติการวิจัยการกัดกร่อน

24 สิงหาคม 2553

ด้วยการสนับสนุนจาก บ. เวสเทิร์น ดิจิตอล จำกัด (Western Digital)

ห้องปฏิบัติการวิจัยการกัดกร่อน
ห้องปฏิบัติการวิจัยการกัดกร่อน

24 สิงหาคม 2553

ด้วยการสนับสนุนจาก บ. เวสเทิร์น ดิจิตอล จำกัด (Western Digital)

ห้องปฏิบัติการวิจัยการกัดกร่อน
ห้องปฏิบัติการวิจัยการกัดกร่อน

24 สิงหาคม 2553

ด้วยการสนับสนุนจาก บ. เวสเทิร์น ดิจิตอล จำกัด (Western Digital)

ห้องปฏิบัติการวิจัยการกัดกร่อน
ห้องปฏิบัติการวิจัยการกัดกร่อน

24 สิงหาคม 2553

ด้วยการสนับสนุนจาก บ. เวสเทิร์น ดิจิตอล จำกัด (Western Digital)

กระบวนการชุบทองด้วยไฟฟ้า
กระบวนการชุบทองด้วยไฟฟ้า (Gold electroplating production line)

ร่วมกับ บ. แพนดอร่า โพรดักชั่น จก. (PANDORA)

การกัดกร่อนในฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ
การกัดกร่อนของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Corrosion of hard disk drive)

ร่วมกับ บ. เวสเทิร์น ดิจิตอล จำกัด (Western Digital)

การกัดกร่อนในแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติบริเวณอ่าวไทย
การกัดกร่อนในแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติบริเวณอ่าวไทย (Corrosion in Production Wells in the Gulf of Thailand Fields)

ร่วมกับ บ. เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด (Chevron Thailand Exploration and Production)

การกัดกร่อนจากมวลชีวภาพ
การกัดกร่อนจากมวลชีวภาพ (Corrosion from Biomass)

ร่วมกับ บ. เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (SCG Chemicals)

พฤติกรรมการกัดกร่อนของทังสเตนคาร์ไบด์
พฤติกรรมการกัดกร่อนของทังสเตนคาร์ไบด์

ร่วมกับ บ. พลานเซทิสิท จำกัด (Plansee Tizit GmbH)

ท่องโลกกว้าง
ท่องโลกกว้าง

Vienna Graz Innsbruck Berlin Prague Budapest Venice Paris Brussels Los Angeles Las Vegas Kanazawa Kyoto Hiroshima Vientiane Tachileik

สมิธแอนด์เวสสัน M67
สมิธแอนด์เวสสัน M67

โครงและลำกล้องเหล็กกล้าไร้สนิม ลำกล้อง 4 นิ้ว ขนาด .38 +P บรรจุ 6 นัด เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถสร้างชั้นป้องกันตามธรรมชาติได้ในสภาวะบรรยากาศปกติ ชั้นป้องกันนี้มีเสถียรภาพสูง มีการยึดติดกับผิวโลหะดีมาก หนาแน่น ทำหน้าที่ป้องกันเนื้อโลหะจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีฤทธิ์กัดกร่อน องค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่ของชั้นป้องกันคือ FeOCr2O3 โดยภาพรวม โลหะยังคงมีความมันเงาตามแบบฉบับของผิวโลหะโดยทั่วไป ซึ่งอาจไม่เหมาะกับการใช้งานในบางกรณีเนื่องจากมีการสะท้อนแสงได้มาก แต่ชั้นป้องกันนี้มีข้อดีที่ว่า หากเกิดการขัดถูที่ทำให้ชั้นป้องกันเสียไป ชั้นป้องกันนี้สามารถเกิดขึ้นใหม่ทดแทนชั้นป้องกันเดิมได้เองโดยไม่ต้องเตรียมผิวใหม่แต่อย่างใด ถือเป็นการซ่อมแซมชั้นป้องกันได้ด้วยตัวเนื้อโลหะเอง หรือจะเรียกว่าเป็นการรักษาตัวเองก็ว่าได้ ทั้งนี้ ก็เพราะปฏิกิริยาเคมีในการเกิดชั้นป้องกันสามารถดำเนินไปได้เองตามธรรมชาติในสภาวะบรรยากาศปกติ โดยไม่มีการละเลยหรือล่าช้าตามเงื่อนไขทางอุณหพลศาสตร์

สมิธแอนด์เวสสัน M&P9c
สมิธแอนด์เวสสัน M&P9c

โครงพอลิเมอร์ สไลด์และลำกล้องเหล็กกล้าไร้สนิมทำผิวแบบเมลอไนท์ ลำกล้อง 3.5 นิ้ว ขนาด 9 มม. บรรจุ 12 นัด เหล็กกล้าไร้สนิมชนิดทำผิวแบบพิเศษสีดำนี้ ยังคงคุณสมบัติที่ดีของเหล็กกล้าไร้สนิมในด้านการป้องกันการกัดกร่อนไว้อย่างครบถ้วน โดยเพิ่มเติมการเปลี่ยนสีของชั้นป้องกันโดยกรรมวิธีทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับการเติมไนโตรเจน สีของชั้นป้องกันพิเศษนี้เหมาะกับการใช้งาน กรณีต้องการลดการสะท้อนแสงจากความมันเงาของผิวโลหะ คล้ายกับการรมดำที่มักจะทำกันในเหล็กกล้าปกติ อย่างไรก็ดี หากเกิดการขัดถูที่ทำให้ชั้นป้องกันพิเศษสีดำนี้เสียไป ชั้นป้องกันพิเศษนี้ไม่อาจเกิดขึ้นมาทดแทนใหม่ได้เองตามธรรมชาติ ต้องนำชิ้นโลหะมาเตรียมผิวและทำผิวใหม่อีกครั้ง แต่เนื่องจากเนื้อของโลหะเป็นเหล็กกล้าไร้สนิมอยู่แล้วนับแต่ต้น แม้ชั้นป้องกันพิเศษนี้จะเสียไปและไม่อาจเกิดขึ้นมาใหม่ได้ เนื้อโลหะที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีฤทธิ์กัดกร่อนหลังจากที่ชั้นป้องกันและชั้นป้องกันพิเศษได้ถูกขัดถูออกไปแล้ว ก็ยังสามารถสร้างชั้นป้องกันตามธรรมชาติ เช่น FeOCr2O3 ขึ้นมาทดแทนได้เอง เพียงแต่ว่าจะไม่มีสีดำเหมือนสีของชั้นป้องกันพิเศษที่ถูกทำมาแต่เดิม

ผลงานวิจัยตีพิมพ์

Pitting potential improvement of 304 stainless steel
Pitting potential improvement of 304 stainless steel in hydrochloric acid solution by Terminalia bellirica fruit extract

By : S. Sutthiruangwong, C. Wongpaiboon, N. Sritha, N. Anukulkich

Pitting is a form of localized corrosion. One way to increase pitting resistance is, therefore, to cover surfaces with inhibitor molecules. Many plant extracts have been reported to be able to adsorb onto metal surfaces. According to uniform corrosion, the corrosion rate is reported to be decreased due to adsorption. Terminalia bellirica fruit contains organic chemicals which can adsorb onto metal surfaces. The extract of Terminalia bellirica fruit was used in this work as a corrosion inhibitor for 304 stainless steel in an acidic solution. The results showed a ...

Read more @ doi.org/10.3390/met13020262
Corrosion behavior of electrodeposited Co-Fe alloys
Corrosion behavior of electrodeposited Co-Fe alloys in aerated solutions

By : A. Chansena, S. Sutthiruangwong

Co-Fe alloy is an important component for reader-writer in hard disk drive. The surface of the alloy is exposed to the environment both in gas phase and in liquid phase during manufacturing process. The study of corrosion behavior of Co-Fe alloys can provide useful fundamental data for reader-writer production planning especially when corrosion becomes a major problem. The corrosion study of electrodeposited Co-Fe alloys from cyclic galvanodynamic polarization was performed using potentiodynamic ...

Read more @ doi.org/10.1016/j.jmmm.2017.01.044
Corrosion behavior of electrodeposited Ni-Fe alloys
อัตราการกัดกร่อนของโลหะผสมนิกเกิล-เหล็กจากการเคลือบผิวด้วยไฟฟ้าในน้ำปราศจากไอออนและสารละลายกรดไฮโดรคลอริกที่มีการเติมอากาศ

โดย สุธา สุทธิเรืองวงศ์

การศึกษาอัตราการกัดกร่อนของโลหะผสมนิกเกิล-เหล็กจะให้ข้อมูลพื้นฐาน เช่น อัตราการสูญเสียความหนาของโลหะ และพฤติกรรมการสร้างชั้นป้องกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการผลิตอุปกรณ์อ่าน และบันทึกข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ เพื่อลดการกัดกร่อนที่อาจเกิดขึ้นได้ การศึกษาอัตราการกัดกร่อนของโลหะผสมนิกเกิล-เหล็กสามารถทำได้ด้วยวิธีการทางเคมีไฟฟ้าโดยเทคนิคโพเทนชิโอไดนามิกโพลาไรเซชัน อย่างไรก็ตามการนำโลหะผสมที่อยู่ในอุปกรณ์อ่านและบันทึกข้อมูลจริงออกมาเพื่อทดสอบนั้นไม่สามารถทำได้เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวมีขนาด เล็กมากในระดับนาโนเมตร ...

อ่านเพิ่มเติม @ BUSCIJ
Effect of mercury on corrosion
Effect of mercury on corrosion in production wells in Gulf of Thailand

By : T. Pojtanabuntoeng, C. Saiwan, S. Sutthiruangwong, D.L. Gallup

The effect of mercury on the corrosion of materials used for tubing in oil and gas production wells was studied. Carbon steel (L80) and 13% chromium stainless steel (13Cr) were selected for study by potentiodynamic polarisation. Simulated produced water, with the composition obtained from the Gulf of Thailand field, was used as a corrosive solution. Temperature kinetically increased the corrosion reaction. Chloride ions and carbon dioxide also enhanced the corrosion. Acidity increased the pitting corrosion of 13Cr and increased ...

Read more @ doi.org/10.1179/147842209X12579401586609
Influence of sodium dodecyl sulfate on corrosion
Influence of sodium dodecyl sulfate on corrosion behavior of 304 stainless steel

By : T. Tobsin, P. Bangchit, V. Sirikullertrat, S. Sutthiruangwong

Influence of sodium dodecyl sulfate (SDS) on corrosion behavior of AISI 304 stainless steel in 0.01 N HCl solutions has been investigated by using the potentiodynamic polarization technique at 25oC. The saturated calomel electrode was used as a reference electrode and platinum plate was applied as a counter electrode. The solution was saturated with air during polarization. The critical micelle concentration (CMC) has been evaluated by conductivity measurements. The concentration of SDS was set in a range below and above the CMC for corrosion ...

Read more @ SciTechAsia
ความสามารถในการยับยั้งการกัดกร่อนของเหล็กกล้าในกรดซัลฟิวริกโดยสารสกัดจากใบพญายอ
ความสามารถในการยับยั้งการกัดกร่อนของเหล็กกล้าในกรดซัลฟิวริกโดยสารสกัดจากใบพญายอ

โดย สุธา สุทธิเรืองวงศ์, หนึ่งหทัย คงอินทร์, อทิตยา จันเสนา, อัจฉราภรณ์ ใจปราณี

ในปัจจุบันสังคมได้ให้ความสำคัญต่อสภาพแวดล้อม และการเลือกใช้สารเคมีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีนักวิจัยหลายกลุ่มศึกษาการยับยั้งการกัดกร่อนจากสารเคมีธรรมชาติ โดยการสกัดจากพืชชนิดต่าง ๆ งานวิจัยนี้ประยุกต์ใช้วิธีการแช่ให้เปื่อยยุ่ยในการสกัดสารจำพวก C-glycosyl flavones จากใบพญายอเพื่อทดสอบความสามารถในการยับยั้งการกัดกร่อนของเหล็กกล้า AISI 1045 ในกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 0.05 M ที่ 25 oC พฤติกรรมทางการกัดกร่อนของเหล็กกล้าถูกตรวจสอบด้วยเทคนิคโพเทนชิโอไดนามิกโพลาไรเซชัน โดยใช้ขั้วไฟฟ้าชนิดคาโลเมลอิ่มตัวเป็นขั้วอ้างอิง ...

อ่านเพิ่มเติม @ BUSCIJ
Passivity and pseudopassivity of cemented carbides
Passivity and pseudopassivity of cemented carbides

By : S. Sutthiruangwong, G. Mori, R. Kösters

During corrosion of cemented carbides the binder phase is selectively dissolved from the material. After the binder has been dissolved into the solution the remaining tungsten carbide skeleton can not withstand a mechanical force any longer and these loose grains can be easily removed even by light abrasion. In principle Co-based cemented carbide does not passivate. However the potentiodynamic curve of the material shows a conventional anodic behavior. It exhibits critical potential and breakthrough potential. Since the current density of ...

Read more @ doi.org/10.1016/j.ijrmhm.2004.11.006
Influence of refractory metal carbide addition on corrosion properties of cemented carbides
Influence of refractory metal carbide addition on corrosion properties of cemented carbides

By : S. Sutthiruangwong, G. Mori

Cr3C2 is added as a grain growth inhibitor to produce submicron cemented carbide. In a corrosive environment, the cobalt binder suffers from corrosion while tungsten carbide (WC) itself remains intact. In this study, cemented carbide specimens have been sintered to attain different magnetic saturation and grain growth inhibitor additions. Corrosion behavior of cemented carbides has been investigated by means of electrochemical measurements. A platinum plate and saturated calomel electrode were the counter and reference ...

Read more @ doi.org/10.1081/AMP-200041607
Metallurgical and surface influence on corrosion resistance of Ni-Cr-Mo alloys according to ASTM G28
Metallurgical and surface influence on corrosion resistance of Ni-Cr-Mo alloys according to ASTM G28

By : G. Mori, S. Sutthiruangwong, M. Czerny, T. Partlic

The influence of surface condition, chemical composition, and microstructure of Ni-Cr-Mo alloys has been investigated using the ASTM G 28 standard for intergranular corrosion testing. Experiments were carried out mainly using the Ni-based alloys C-22 (UNS N06022) and C-276 (UNS N10276). Repeatabilities of both testing procedures of ASTM G 28, Method A and B, were found to be in most cases ≤3%. A finer surface finish yields lower corrosion rates. The corrosion rate of electropolished specimens is about 5% to 20% lower than ...

Read more @ doi.org/10.5006/1.3299221
Corrosion properties of Co-based cemented carbides in acidic solutions
Corrosion properties of Co-based cemented carbides in acidic solutions

By : S. Sutthiruangwong, G. Mori

The corrosion properties of cemented carbides with cobalt binder phase have been examined in HCl and H2SO4 solution at room temperature. Potentiodynamic polarization technique with saturated calomel reference electrode was employed in this study. Air and inert argon were used as a circulating media. The effect of magnetic saturation property of cemented carbide on corrosion behavior is described. Specimens were prepared in industrial sinter furnaces under various conditions to obtain different magnetic ...

Read more @ doi.org/10.1016/S0263-4368(03)00027-1

Copyright © 2547 – All Rights Reserved